วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20น.

 ในชั่วโมงนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว โดยนำเสนอเฉพาะตัวอย่างเท่านั้น เพื่อเน้นให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องของวิชาคณิตศาสตร์สำหรัีบเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 5 กลุ่ม   
กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ  เด็กได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข  เช่น ตัวเลข 1-10 เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ ระยะทาง เวลา น้ำหนัก เป็นต้น เช่น แตงโมลูกใหญ่กับแตงโมลูกเล็ก แตงโมลูกไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน 
กลุ่มที่ 3 เรื่อง เรขาคณิต  คือ รูปทรงต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี ห้าเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น
กลุ่มที่ 4 เรื่อง พีชคณิต คือ การบวก การลบ การคูณ การหาร เช่น 1+1  1-0 เป็นต้น
กลุ่มที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็น คือ การคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆโดยเหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้เช่น มีลูกปิงปองสีส้ม 1 ลูก และลูกปิงปองสีขาว 1 ลูก ใส่ลงไปในกล่องใบหนึ่ง ถามว่าเมื่อหยิบลูกปิงปองขึ้นมา1ลูก จะได้ลูกปิงปองสีอะไร? ความน่าจะเป็นคือ ลูกปิงปองสีส้มกับสีขาว เป็นต้น

การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
และท้ายชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยอันดับแรกอาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพวงกลมที่มีขนาดเท่ากับลูกเทนนิส 1 ลูก แล้วให้เขียนเลข0-9 ที่ตนเองชอบลงไปในวงกลม ซึ่งดิฉันได้เขียนเลข 5 แล้วจากนั้นอาจารย์ให้ทำกลีบดอกไม้เท่ากับจำนวนที่เราเขียนตัวเลขไว้ ซึ่งดอกไม้ของดิฉันมี 5 กลีบ แล้วนำกระดาษสีมาติดให้สวยงาม

กลีบดอกไม้จำนวน 5 กลีบ


ดอกไม้ 5 กลีบ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข รูปทรงเรขาคณิต ที่เราจะไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
-ทำให้ได้รู้วิธีการยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้
-สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการฝึกสอนและการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เกี่ยวกับตัวเลข ยกตัวอย่างที่อาจารย์ได้ให้ทำดอกไม้กลีบตามจำนวนที่เราชอบตัวเลข 
-ได้เรียนรู้เกี่ยวเรื่องของคณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ




วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธเวลา08.30-12.20น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 เวลา 08.30-12.20น.

ในชั่วโมงนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ ซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนมีความหมายกับเด็กมาก โดยเฉพาะในชีวิตประจำวัน เช่น การนับเลข การดูนาฬิกา  รูปร่าง ขนาด การใช้เงินในชีวิตประจำวัน
ตัวเลข เช่นจำนวน น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า กิโล
ขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ สูง เตี้ย
รูปร่าง เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ยาว สั้น โค้ง
ค่าของเงิน เช่น สลึง หนึ่งบาท ห้าบาท ยี่สิบบาท เป็นต้น
จำนวนและการดำเนินการ
กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด
การวัด หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ เช่น วัดหาความยาว  วัดหาความสูง วัดหาน้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งการวัดของเด็กปฐมวัยเป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ ควรมุ่งเน้นปริมาณที่มองเห็นได้ด้วยตา เช่น การวัดโต๊ะเรียน การวัดหนังสือเรียน เป็นต้น
การวัดเก้าอี้นักเรียน
กลุ่มที่ 3 เรื่อง เรขาคณิต
เรขาคณิต หมายถึง รูปทรงต่างๆของเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ทรงกระบอก เป็นต้น

รูปทรงเรขาคณิต

กลุ่มที่ 4 เรื่อง พีชคณิต
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ พื้นฐานของคณิตศาสตร์ คือ เซต ซึ่งก็คือ กลุ่มสิ่งของต่างๆ เช่น เมื่อเด็กหยิบไม้บล็อกมาเล่นออกจากกล่องที่ละชิ้น และแยกเป็นรูปทรงต่างๆที่เหมือนกัน ก็เท่ากับว่าเด็กได้เรียนเรื่องเซตแล้ว
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น คือ การใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น โดยพิจารณาเหตุการณ์แล้วว่าจะเกิดขึ้นในลักษณะแบบใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาความน่าจะเป็นต้องทดลองแบบวิธีการสุ่มเท่านั้น เช่น ในกล่องมีตุ๊กตาหมีสีส้ม 3 ตัวและสีม่วง 3 ตัว ความน่าจะเป็นที่จะหยิบตุ๊กตาขึ้นมาจากกล่องได้สีอะไร  อาจจะเป็นสีส้มหรือสีม่วงก็ได้

ความน่าจะเป็นของการจับคู่ เสื้อ-กางเกง
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-ทำให้เราได้รู้ว่าการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นต้องมีวิธีการอย่างไร อาจจะสอนโดนผ่านการเล่น การทำกิจกรรม
-ทำให้เด็กได้รู้จักเรื่องของจำนวน ตัวเลข ขนาด รูปทรงต่างๆ
-สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งทุกวันเราจะต้องใช้คณิตศาศตร์อยู่ตลอกเวลา เช่น การซื้อของ การเรียน การคิดคำนวณ
-ทำให้เราได้แก้ปัญหาต่างๆได้ที่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น สัดส่วนของสิ่งของต่างๆ