วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์  2557
ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 น.

     ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีสมาชิก 2 คน ดังนี้

1.นางสาวอรุณี  พระนารินทร์
2.นางสาวประภัสสร หนูศิริ

กลุ่มของดิฉันทำสื่อทางคณิตศาสตร์
ชื่อสื่อว่า  " ติ๊กต๊อง "

สื่อทางคณิตศาสตร์ " ติ๊กต๊อง "


วิธีการเล่น 
- ครูจะบอกเวลากับเด็กก่อนว่านี่เป็นเวลากี่โมง เพราะเด็กยังไม่รู้จักเวลา และบอกเกี่ยวกับเข็มของนาฬิกา คือ เข็มยาว เข็มสั้น เป็นต้น
- เมื่อครูบอกเวลาให้กับเด็กแล้ว ก็จะนำรูปภาพที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันจริงๆมาติดตามเวลา เช่น ตื่นนอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน กินข้าว ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ กลับบ้าน อ่านหนังสือ ทำการบ้าน นอน เป็นต้น

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
- เด็กมีความสนุกสนานในการเล่นนาฬิกาและการติดภาพกิจวัตรประจำวัน (ด้านอารมณ์)
-เด็กได้เรียนรู้ข้อตกลงในการเล่น (ด้านสังคม)
- เด็กได้รู้จักเวลา และรู้จักกิจวัตรประจำวันในทุกๆวัน และรู้จักการแก้ปัญหา รู้จักรูปทรงเรขาคณิต (ด้านสติปัญญา)

ประโยชน์ทางวิชาคณิตศาสตร์
- เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเวลา
-เด็กได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรงเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
-เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวน 1-12

ปัญหาที่พบ
-เด็กยังไม่รู้จักเรื่องของเวลา เช่น กลางวัน กลางคืน
-เด็กยังไม่เข้าใจเข็มสั้น เข็มยาว ของนาฬิกา

สื่อของเพื่อนที่ดิฉันคิดว่าดีที่สุด

ชื่อสื่อว่า " จำนวนนับพาเพลิน "

จำนวนนับพาเพลิน

จำนวนนับพาเพลิน


 เพราะว่า เด็กสามารถเล่นได้ทุกวัย ตั้งแต่ อนุบาล 1-3 เพราะเป็นจำนวนนับพื้นฐานที่เด็กสามารถนับได้ สื่อชิ้นนี้มีตัวการ์ตูนคิดตี้เรียงลำดับกัน เพื่อให้เด็กได้นับที่ละตัวๆแล้วเอาตัวเลขมาติดตามจำนวนที่เด็กนับได้ สามารถเล่นได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เด็กสามารเข้าใจในเรื่องของจำนวนนับได้

ข้อเสนอแนะของสื่อชิ้นนี้
-ควรจะเพิ่มจำนวนนับที่เป็นตัวหนังสือไปด้วย เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องของภาษาไปด้วย หรือ ควรจะเพิ่มสีเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องของสี

การนำไปใช้ในชีวิตประจำ/ความรู้ที่ได้รับ
- สามารถนำไปประดิษฐ์แล้วใช้ในการสอนได้
-สามารถไปเ็ป็นแบบอย่างในการทำครั้งต่อๆไปได้
-ทำให้ดิฉันมีความรู้ในการประดิษฐ์สื่อทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น
-ทำให้ดิฉันสามารถจำผลงานของเพื่อนไปประยุกต์ได้

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 29 มกราคม 2557
ครั้งที่ 9 เวลา 08.30-12.20 น.

      ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่มๆละ 4-5 คน เขียนแผนการจัดประสบการณ์กลุ่มละ 3 กิจกรรม โดยให้นักศึกษาประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมโดยมีคณิตศาสตร์เข้าแทรกในกิจกรรมนั้นด้วย
      ก่ิอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อาจารย์ได้บอกเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ทุกครั้งที่จะสอนเด็กปฐมวัย เราต้องเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทุกครั้งและดำเนินการสอนตามแผนประสบการณืที่เราเขียนไว้เสมอ  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 3 กิจกรรม ดังนี้


กิจกรรมที่ 1 
แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 1  กิจกรรม  บีบน้ำใส่ขวด



กิจกรรมที่ 2 
แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม ชั่งแล้วสนุก



กิจกรรมที่ 3
แผนการจัดประสบการณ์ ชัั้น อนุบาล 3 กิจกรรม ต่อเติมหรรษา


เมื่อเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสร็จแล้ว อาจารย์ก็ตรวจแผนการจัดประสบการณ์แล้วบอกส่วนที่ยังไม่ถูกต้องพร้อมทั้งอธิบายว่าควรเขียนอย่างไรถึงจะถูกต้อง แล้วให้นักศึกษาแก้ไขในส่วนที่ยังไม่ถูกต้อง

อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์


อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนหรือการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
-ทำให้ดิฉันมีความรู้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของวิชาคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น
-นำแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไปเป็นแบบอย่างการเขียนในครั้งต่อไปได้
-ทำให้ดิฉันเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ว่าเราควรต้องมีการประยุกต์กิจกรรมต่างๆได้โดยที่เราสามารถนำคณิตศาสตร์เข้าไปเชื่อมโยงได้

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 22   มกราคม  2557 
ครั้งที่ 8  เวลา 08.30-12.20น.

 ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม แต่มีกิจกรรม 2 กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสี (พีชคณิต) โดยมีแบบ วงกลม  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเป็นรถไฟที่มีทั้งรูปทรงเรขาคณิตและผัก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของสีที่เหมือนกันและต่างกัน เรียนรู้เรื่องของจำนวนที่ไม่เกิน 1 -10 และเรียนรู้ผักที่มีประโยชน์ต่อเด็ก

รถไฟ vegetables




หลังจากนั้นเมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ทำว่า  ชื่ออะไร เด็กได้เรียนรู้อะไรบ้างจากรถไฟที่เราทำ

นำเสนองานหน้าชั้นเรียนของแต่ละกลุ่ม


นำเสนองานหน้าชั้นเรียนของแต่ละกลุ่ม

ผลงานของเพื่อนๆ








กิจกรรมที่ 2

 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีตัวอย่างให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรม

ตัวอย่างกิจกรรม จำแนกประเภทสัตว์ที่มีพิษกับสัตว์ที่ไม่มีพิษ


ตัวอย่างกิจกรรม การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ระหว่าง ร่มผ้ากับร่มกระดาษ


ตัวอย่างกิจกรรม สำรวจร่มแบบใดที่หนูชอบ


ตัวอย่างกิจกรรม การจำแนกสัตว์เลี้ยง- สัตว์ป่า

ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้ในหัวข้อเรื่อง การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่าง วัว - แมว
สิ่งสำคัญในการทำคือ การวาดรูปวัวกับแมว เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพและได้รู้จักวัวกับแมวว่ามีลักษณะที่เหมือนกันตรงไหนบ้างและมีลักษณะที่ต่างกันตรงไหนบ้าง

การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่าง วัว - แมว

เมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ออกไปสอนหน้าชั้นเรียน โดยส่งตัวแทนออกไปสอนและออกไปเขียนอย่างละ 1 คน แล้วให้เพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็กปฐมวัย

นำเสนอหน้าชั้นเรียน


นำเสนอหน้าชั้นเรียน


นำเสนอหน้าชั้นเรียน


ผลงานของเพื่อนๆ

ของใช้ในห้องครัวกับห้องนอน


สำรวจ สัตว์แบบใดที่หนูชอบ


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการฝึกการสอนและการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมทางวิชาคณิตศาสตร์ได้
- เป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัยในวิชาคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
- ทำให้เราได้รู้ว่าการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยควรจัดการเรียนรู้แบบใดที่จะครอบคลุมเนื้อหาและพัฒนาศักยภาพของเด็กได้อย่างดี ครบถ้วน
-ทำให้มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น สำหรับการออกไปสอนหน้าชั้นเรียนในครั้งนี้


วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 15 มกราคม 2557
ครั้งที่ 7 เวลา 08.30-12.20 น.

ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำนิทานเล่มใหญ่  Big Book โดยร่วมกันคิดนิทานขึ้นมาใหม่ 
ชื่อนิทานว่า ลูกหมูเก็บฟืน โดยมีเรื่องราวว่า  


ลูกหมูเก็บฟืน

           กาลครั่งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป้นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่หลังละ 2 ตัว หม฿แต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านหลังสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมต้องเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยกันเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัว ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้ทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน และหมูก็นำฟืนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

เมื่อแต่งนิทานเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มทำนิทานโดยแบ่งหน้าที่กลุ่มละ 1 หน้า ซึ่งมีทั้งหมด 10 กลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้หมายเลข 1 ทำหน้าปก


ภาพระหว่างการดำเนินการ



เมื่อทำเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปเล่านิทานตามที่ตนเองได้ในแต่ละหน้า แล้วนำนิทานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นนิทานเล่มใหญ่ Big Book


เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม


เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม



เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม



เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม



การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด และเิกิดจินตนาการ เมื่อเล่านิทานให้เด็กฟัง           - ทำให้เด็กได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ คือ การนับฟืน การลบ
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนได้ โดยเฉพาะการทำนิทานเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในหลายด้านๆ เช่น ทางด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์  ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และจิตใจ เป็นต้น
- สามารถนำไปใช้ในการสอนเรื่องเรขาคณิตได้ คือ บ้านที่มีรูปร่าง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 8 มกราคม 2557
ครั้งที่ 6 เวลา 08.30-12.20 น.

   ในชั่วโมงนี้อาจารย์สอนเรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยว่าเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-ใ้ห้่เด็กได้เตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆทางคณติศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึุกษา
สาระและมาตรฐานที่เรียนรู้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ มาตรา ค.ป.1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง  เช่น
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การรวมและการแยกกลุ่ม คือ ถ้าการรวมคือการเพิ่มขึ้นแต่ถ้าการแยกคือการลดน้อยลงหรือการเอาออกไป
-การรวมหรือการแยกสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด มาตรา ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก เช่น ปริมาตรและเวลา เช่น
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
-ชนิดของคำว่า เงิน เหรียญและธนบัตร
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน เช่น เมื่อวาน พรุ่งนี้

การวัดของเด็กปฐมวัย (วัดความยาวของห้องโดยใช้มือ)


การชั่งน้ำหนักของเด็กปฐมวัย



สาระที่ 3 เรขาคณิต  คือ คณิตศาสตร์ 3 มิติ 2 มิติ (เด็กเรียนรู้จาก 3 มิติก่อน เพราะเป็นของจริง) มาตรา ค.ป.3.1 รู้จักตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรา ค.ป.3.2รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ เช่น
- การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
-รูปเรขาคณิต 3 มิติ(จับต้องได้) รูปเรขาคณิต 2 มิติ(จับต้องไม่ได้)
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะ จากรูปเรขาคณิต 3 มิติ 2 มิติ



รูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ (จับต้องได้)


รูปเรขาคณิต 2 มิติ(จับต้องไม่ได้)


รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต



สาระที่ 4 พีชคณิต มาตรา ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ เช่น
-แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสิ่งที่สัมพันธ์กัน

เด็กเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์



สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  มาตรา ค.ป.5.1 การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ

ความน่าจะเป็น


ความน่าจะเป็น


สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์ต่างๆและมีความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรมท้ายชั่วโมงวันนี้จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกแบบที่เป็นรูปเีรขาคณิตคนละ 1 แบบ ซึ่งดิฉันเลือกแบบสี่เหลี่ยม แล้วอาจารย์ให้วาดเป็นสัตว์อะไรก็ได้โดยมีรูปเรขาคณิตด้วย ซึ่งดิฉันได้วาดสิงโตที่มีหน้าตาเป็นสี่เหลี่ยม



สิงโต

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทำให้เราได้รู้ถึงกรอบมาตราการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
-สามารนำไปใช้ในการฝึกการสอนและการสอนในอนาคตได้
-ทำให้เรามีการวางแผนก่อนการสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและตรงตามมาตราฐานที่เด็กควรจะได้รับ
-ทำให้เราได้รู้ถึงคุณภาพที่เด็กปฐมวัยควรจะได้รับเมื่อจบชั้นไปแล้ว ว่าเด็กมีความสามรถมากน้อยเพียงใด เข้าใจมากแค่ไหนและแก้ปัญหาได้หรือไม่
-ทำให้เราได้รู้ว่าในแต่ละสาระเด็กควรจะได้ความรู้อะไรบ้าง



วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20น.

 ในชั่วโมงนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมานำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว โดยนำเสนอเฉพาะตัวอย่างเท่านั้น เพื่อเน้นให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องของวิชาคณิตศาสตร์สำหรัีบเด็กปฐมวัย มีทั้งหมด 5 กลุ่ม   
กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ  เด็กได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข  เช่น ตัวเลข 1-10 เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 เรื่อง การวัด คือ การหาคำตอบเกี่ยวกับ ระยะทาง เวลา น้ำหนัก เป็นต้น เช่น แตงโมลูกใหญ่กับแตงโมลูกเล็ก แตงโมลูกไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน 
กลุ่มที่ 3 เรื่อง เรขาคณิต  คือ รูปทรงต่างๆ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี ห้าเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น
กลุ่มที่ 4 เรื่อง พีชคณิต คือ การบวก การลบ การคูณ การหาร เช่น 1+1  1-0 เป็นต้น
กลุ่มที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็น คือ การคาดเดาเหตุการณ์ต่างๆโดยเหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้เช่น มีลูกปิงปองสีส้ม 1 ลูก และลูกปิงปองสีขาว 1 ลูก ใส่ลงไปในกล่องใบหนึ่ง ถามว่าเมื่อหยิบลูกปิงปองขึ้นมา1ลูก จะได้ลูกปิงปองสีอะไร? ความน่าจะเป็นคือ ลูกปิงปองสีส้มกับสีขาว เป็นต้น

การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
และท้ายชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม โดยอันดับแรกอาจารย์ให้นักศึกษาวาดภาพวงกลมที่มีขนาดเท่ากับลูกเทนนิส 1 ลูก แล้วให้เขียนเลข0-9 ที่ตนเองชอบลงไปในวงกลม ซึ่งดิฉันได้เขียนเลข 5 แล้วจากนั้นอาจารย์ให้ทำกลีบดอกไม้เท่ากับจำนวนที่เราเขียนตัวเลขไว้ ซึ่งดอกไม้ของดิฉันมี 5 กลีบ แล้วนำกระดาษสีมาติดให้สวยงาม

กลีบดอกไม้จำนวน 5 กลีบ


ดอกไม้ 5 กลีบ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับจำนวน ตัวเลข รูปทรงเรขาคณิต ที่เราจะไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย
-ทำให้ได้รู้วิธีการยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้
-สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการฝึกสอนและการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เกี่ยวกับตัวเลข ยกตัวอย่างที่อาจารย์ได้ให้ทำดอกไม้กลีบตามจำนวนที่เราชอบตัวเลข 
-ได้เรียนรู้เกี่ยวเรื่องของคณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปะ




วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพุธเวลา08.30-12.20น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2556
ครั้งที่ 4 เวลา 08.30-12.20น.

ในชั่วโมงนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ ซึ่งมีทั้งหมด 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ
จำนวนมีความหมายกับเด็กมาก โดยเฉพาะในชีวิตประจำวัน เช่น การนับเลข การดูนาฬิกา  รูปร่าง ขนาด การใช้เงินในชีวิตประจำวัน
ตัวเลข เช่นจำนวน น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า กิโล
ขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ สูง เตี้ย
รูปร่าง เช่น วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ยาว สั้น โค้ง
ค่าของเงิน เช่น สลึง หนึ่งบาท ห้าบาท ยี่สิบบาท เป็นต้น
จำนวนและการดำเนินการ
กลุ่มที่ 2 เรื่องการวัด
การวัด หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการทราบได้อย่างถูกต้อง โดยมีหน่วยการวัดกำกับอยู่เสมอ เช่น วัดหาความยาว  วัดหาความสูง วัดหาน้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งการวัดของเด็กปฐมวัยเป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นของการวัด เช่น การกะปริมาณ ควรมุ่งเน้นปริมาณที่มองเห็นได้ด้วยตา เช่น การวัดโต๊ะเรียน การวัดหนังสือเรียน เป็นต้น
การวัดเก้าอี้นักเรียน
กลุ่มที่ 3 เรื่อง เรขาคณิต
เรขาคณิต หมายถึง รูปทรงต่างๆของเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ทรงกระบอก เป็นต้น

รูปทรงเรขาคณิต

กลุ่มที่ 4 เรื่อง พีชคณิต
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย คือ พื้นฐานของคณิตศาสตร์ คือ เซต ซึ่งก็คือ กลุ่มสิ่งของต่างๆ เช่น เมื่อเด็กหยิบไม้บล็อกมาเล่นออกจากกล่องที่ละชิ้น และแยกเป็นรูปทรงต่างๆที่เหมือนกัน ก็เท่ากับว่าเด็กได้เรียนเรื่องเซตแล้ว
พีชคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น คือ การใช้ประเมินสถานการณ์ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น โดยพิจารณาเหตุการณ์แล้วว่าจะเกิดขึ้นในลักษณะแบบใด มีโอกาสที่จะเกิดมากน้อยเพียงใด การหาความน่าจะเป็นต้องทดลองแบบวิธีการสุ่มเท่านั้น เช่น ในกล่องมีตุ๊กตาหมีสีส้ม 3 ตัวและสีม่วง 3 ตัว ความน่าจะเป็นที่จะหยิบตุ๊กตาขึ้นมาจากกล่องได้สีอะไร  อาจจะเป็นสีส้มหรือสีม่วงก็ได้

ความน่าจะเป็นของการจับคู่ เสื้อ-กางเกง
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
-ทำให้เราได้รู้ว่าการสอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นต้องมีวิธีการอย่างไร อาจจะสอนโดนผ่านการเล่น การทำกิจกรรม
-ทำให้เด็กได้รู้จักเรื่องของจำนวน ตัวเลข ขนาด รูปทรงต่างๆ
-สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ ซึ่งทุกวันเราจะต้องใช้คณิตศาศตร์อยู่ตลอกเวลา เช่น การซื้อของ การเรียน การคิดคำนวณ
-ทำให้เราได้แก้ปัญหาต่างๆได้ที่เกี่ยวกับตัวเลข เช่น สัดส่วนของสิ่งของต่างๆ