วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์  2557
ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 น.

     ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีสมาชิก 2 คน ดังนี้

1.นางสาวอรุณี  พระนารินทร์
2.นางสาวประภัสสร หนูศิริ

กลุ่มของดิฉันทำสื่อทางคณิตศาสตร์
ชื่อสื่อว่า  " ติ๊กต๊อง "

สื่อทางคณิตศาสตร์ " ติ๊กต๊อง "


วิธีการเล่น 
- ครูจะบอกเวลากับเด็กก่อนว่านี่เป็นเวลากี่โมง เพราะเด็กยังไม่รู้จักเวลา และบอกเกี่ยวกับเข็มของนาฬิกา คือ เข็มยาว เข็มสั้น เป็นต้น
- เมื่อครูบอกเวลาให้กับเด็กแล้ว ก็จะนำรูปภาพที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันจริงๆมาติดตามเวลา เช่น ตื่นนอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน กินข้าว ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ กลับบ้าน อ่านหนังสือ ทำการบ้าน นอน เป็นต้น

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
- เด็กมีความสนุกสนานในการเล่นนาฬิกาและการติดภาพกิจวัตรประจำวัน (ด้านอารมณ์)
-เด็กได้เรียนรู้ข้อตกลงในการเล่น (ด้านสังคม)
- เด็กได้รู้จักเวลา และรู้จักกิจวัตรประจำวันในทุกๆวัน และรู้จักการแก้ปัญหา รู้จักรูปทรงเรขาคณิต (ด้านสติปัญญา)

ประโยชน์ทางวิชาคณิตศาสตร์
- เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเวลา
-เด็กได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรงเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
-เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวน 1-12

ปัญหาที่พบ
-เด็กยังไม่รู้จักเรื่องของเวลา เช่น กลางวัน กลางคืน
-เด็กยังไม่เข้าใจเข็มสั้น เข็มยาว ของนาฬิกา

สื่อของเพื่อนที่ดิฉันคิดว่าดีที่สุด

ชื่อสื่อว่า " จำนวนนับพาเพลิน "

จำนวนนับพาเพลิน

จำนวนนับพาเพลิน


 เพราะว่า เด็กสามารถเล่นได้ทุกวัย ตั้งแต่ อนุบาล 1-3 เพราะเป็นจำนวนนับพื้นฐานที่เด็กสามารถนับได้ สื่อชิ้นนี้มีตัวการ์ตูนคิดตี้เรียงลำดับกัน เพื่อให้เด็กได้นับที่ละตัวๆแล้วเอาตัวเลขมาติดตามจำนวนที่เด็กนับได้ สามารถเล่นได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เด็กสามารเข้าใจในเรื่องของจำนวนนับได้

ข้อเสนอแนะของสื่อชิ้นนี้
-ควรจะเพิ่มจำนวนนับที่เป็นตัวหนังสือไปด้วย เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องของภาษาไปด้วย หรือ ควรจะเพิ่มสีเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องของสี

การนำไปใช้ในชีวิตประจำ/ความรู้ที่ได้รับ
- สามารถนำไปประดิษฐ์แล้วใช้ในการสอนได้
-สามารถไปเ็ป็นแบบอย่างในการทำครั้งต่อๆไปได้
-ทำให้ดิฉันมีความรู้ในการประดิษฐ์สื่อทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น
-ทำให้ดิฉันสามารถจำผลงานของเพื่อนไปประยุกต์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น