วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 22   มกราคม  2557 
ครั้งที่ 8  เวลา 08.30-12.20น.

 ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม แต่มีกิจกรรม 2 กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสี (พีชคณิต) โดยมีแบบ วงกลม  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเป็นรถไฟที่มีทั้งรูปทรงเรขาคณิตและผัก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของสีที่เหมือนกันและต่างกัน เรียนรู้เรื่องของจำนวนที่ไม่เกิน 1 -10 และเรียนรู้ผักที่มีประโยชน์ต่อเด็ก

รถไฟ vegetables




หลังจากนั้นเมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ทำว่า  ชื่ออะไร เด็กได้เรียนรู้อะไรบ้างจากรถไฟที่เราทำ

นำเสนองานหน้าชั้นเรียนของแต่ละกลุ่ม


นำเสนองานหน้าชั้นเรียนของแต่ละกลุ่ม

ผลงานของเพื่อนๆ








กิจกรรมที่ 2

 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีตัวอย่างให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรม

ตัวอย่างกิจกรรม จำแนกประเภทสัตว์ที่มีพิษกับสัตว์ที่ไม่มีพิษ


ตัวอย่างกิจกรรม การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ระหว่าง ร่มผ้ากับร่มกระดาษ


ตัวอย่างกิจกรรม สำรวจร่มแบบใดที่หนูชอบ


ตัวอย่างกิจกรรม การจำแนกสัตว์เลี้ยง- สัตว์ป่า

ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้ในหัวข้อเรื่อง การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่าง วัว - แมว
สิ่งสำคัญในการทำคือ การวาดรูปวัวกับแมว เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพและได้รู้จักวัวกับแมวว่ามีลักษณะที่เหมือนกันตรงไหนบ้างและมีลักษณะที่ต่างกันตรงไหนบ้าง

การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่าง วัว - แมว

เมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ออกไปสอนหน้าชั้นเรียน โดยส่งตัวแทนออกไปสอนและออกไปเขียนอย่างละ 1 คน แล้วให้เพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็กปฐมวัย

นำเสนอหน้าชั้นเรียน


นำเสนอหน้าชั้นเรียน


นำเสนอหน้าชั้นเรียน


ผลงานของเพื่อนๆ

ของใช้ในห้องครัวกับห้องนอน


สำรวจ สัตว์แบบใดที่หนูชอบ


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการฝึกการสอนและการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมทางวิชาคณิตศาสตร์ได้
- เป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัยในวิชาคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
- ทำให้เราได้รู้ว่าการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยควรจัดการเรียนรู้แบบใดที่จะครอบคลุมเนื้อหาและพัฒนาศักยภาพของเด็กได้อย่างดี ครบถ้วน
-ทำให้มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น สำหรับการออกไปสอนหน้าชั้นเรียนในครั้งนี้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น