วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 12 กุมภาพันธ์  2557
ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 น.

     ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสื่อทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มของดิฉันมีสมาชิก 2 คน ดังนี้

1.นางสาวอรุณี  พระนารินทร์
2.นางสาวประภัสสร หนูศิริ

กลุ่มของดิฉันทำสื่อทางคณิตศาสตร์
ชื่อสื่อว่า  " ติ๊กต๊อง "

สื่อทางคณิตศาสตร์ " ติ๊กต๊อง "


วิธีการเล่น 
- ครูจะบอกเวลากับเด็กก่อนว่านี่เป็นเวลากี่โมง เพราะเด็กยังไม่รู้จักเวลา และบอกเกี่ยวกับเข็มของนาฬิกา คือ เข็มยาว เข็มสั้น เป็นต้น
- เมื่อครูบอกเวลาให้กับเด็กแล้ว ก็จะนำรูปภาพที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันจริงๆมาติดตามเวลา เช่น ตื่นนอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน กินข้าว ไปโรงเรียน เรียนหนังสือ กลับบ้าน อ่านหนังสือ ทำการบ้าน นอน เป็นต้น

ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
- เด็กมีความสนุกสนานในการเล่นนาฬิกาและการติดภาพกิจวัตรประจำวัน (ด้านอารมณ์)
-เด็กได้เรียนรู้ข้อตกลงในการเล่น (ด้านสังคม)
- เด็กได้รู้จักเวลา และรู้จักกิจวัตรประจำวันในทุกๆวัน และรู้จักการแก้ปัญหา รู้จักรูปทรงเรขาคณิต (ด้านสติปัญญา)

ประโยชน์ทางวิชาคณิตศาสตร์
- เด็กได้เรียนรู้เรื่องของเวลา
-เด็กได้เรียนรู้เรื่องของรูปทรงเรขาคณิต เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม
-เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวน 1-12

ปัญหาที่พบ
-เด็กยังไม่รู้จักเรื่องของเวลา เช่น กลางวัน กลางคืน
-เด็กยังไม่เข้าใจเข็มสั้น เข็มยาว ของนาฬิกา

สื่อของเพื่อนที่ดิฉันคิดว่าดีที่สุด

ชื่อสื่อว่า " จำนวนนับพาเพลิน "

จำนวนนับพาเพลิน

จำนวนนับพาเพลิน


 เพราะว่า เด็กสามารถเล่นได้ทุกวัย ตั้งแต่ อนุบาล 1-3 เพราะเป็นจำนวนนับพื้นฐานที่เด็กสามารถนับได้ สื่อชิ้นนี้มีตัวการ์ตูนคิดตี้เรียงลำดับกัน เพื่อให้เด็กได้นับที่ละตัวๆแล้วเอาตัวเลขมาติดตามจำนวนที่เด็กนับได้ สามารถเล่นได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เด็กสามารเข้าใจในเรื่องของจำนวนนับได้

ข้อเสนอแนะของสื่อชิ้นนี้
-ควรจะเพิ่มจำนวนนับที่เป็นตัวหนังสือไปด้วย เพื่อที่เด็กจะได้เรียนรู้ในเรื่องของภาษาไปด้วย หรือ ควรจะเพิ่มสีเพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องของสี

การนำไปใช้ในชีวิตประจำ/ความรู้ที่ได้รับ
- สามารถนำไปประดิษฐ์แล้วใช้ในการสอนได้
-สามารถไปเ็ป็นแบบอย่างในการทำครั้งต่อๆไปได้
-ทำให้ดิฉันมีความรู้ในการประดิษฐ์สื่อทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและเพิ่มมากขึ้น
-ทำให้ดิฉันสามารถจำผลงานของเพื่อนไปประยุกต์ได้

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 29 มกราคม 2557
ครั้งที่ 9 เวลา 08.30-12.20 น.

      ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่มๆละ 4-5 คน เขียนแผนการจัดประสบการณ์กลุ่มละ 3 กิจกรรม โดยให้นักศึกษาประยุกต์ใช้กับการจัดกิจกรรมโดยมีคณิตศาสตร์เข้าแทรกในกิจกรรมนั้นด้วย
      ก่ิอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อาจารย์ได้บอกเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ทุกครั้งที่จะสอนเด็กปฐมวัย เราต้องเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทุกครั้งและดำเนินการสอนตามแผนประสบการณืที่เราเขียนไว้เสมอ  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 3 กิจกรรม ดังนี้


กิจกรรมที่ 1 
แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 1  กิจกรรม  บีบน้ำใส่ขวด



กิจกรรมที่ 2 
แผนการจัดประสบการณ์ ชั้น อนุบาล 2 กิจกรรม ชั่งแล้วสนุก



กิจกรรมที่ 3
แผนการจัดประสบการณ์ ชัั้น อนุบาล 3 กิจกรรม ต่อเติมหรรษา


เมื่อเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสร็จแล้ว อาจารย์ก็ตรวจแผนการจัดประสบการณ์แล้วบอกส่วนที่ยังไม่ถูกต้องพร้อมทั้งอธิบายว่าควรเขียนอย่างไรถึงจะถูกต้อง แล้วให้นักศึกษาแก้ไขในส่วนที่ยังไม่ถูกต้อง

อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์


อาจารย์ตรวจแผนการจัดประสบการณ์

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนหรือการสอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้
-ทำให้ดิฉันมีความรู้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ของวิชาคณิตศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้มากขึ้น
-นำแผนการจัดประสบการณ์ที่เขียนไปเป็นแบบอย่างการเขียนในครั้งต่อไปได้
-ทำให้ดิฉันเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ว่าเราควรต้องมีการประยุกต์กิจกรรมต่างๆได้โดยที่เราสามารถนำคณิตศาสตร์เข้าไปเชื่อมโยงได้

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 22   มกราคม  2557 
ครั้งที่ 8  เวลา 08.30-12.20น.

 ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม แต่มีกิจกรรม 2 กิจกรรมในวันนี้

กิจกรรมที่ 1 

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำรูปทรงเรขาคณิตและการจำแนกสี (พีชคณิต) โดยมีแบบ วงกลม  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำเป็นรถไฟที่มีทั้งรูปทรงเรขาคณิตและผัก เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของสีที่เหมือนกันและต่างกัน เรียนรู้เรื่องของจำนวนที่ไม่เกิน 1 -10 และเรียนรู้ผักที่มีประโยชน์ต่อเด็ก

รถไฟ vegetables




หลังจากนั้นเมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานของแต่ละกลุ่มที่ทำว่า  ชื่ออะไร เด็กได้เรียนรู้อะไรบ้างจากรถไฟที่เราทำ

นำเสนองานหน้าชั้นเรียนของแต่ละกลุ่ม


นำเสนองานหน้าชั้นเรียนของแต่ละกลุ่ม

ผลงานของเพื่อนๆ








กิจกรรมที่ 2

 อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีตัวอย่างให้ดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำกิจกรรม

ตัวอย่างกิจกรรม จำแนกประเภทสัตว์ที่มีพิษกับสัตว์ที่ไม่มีพิษ


ตัวอย่างกิจกรรม การเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ระหว่าง ร่มผ้ากับร่มกระดาษ


ตัวอย่างกิจกรรม สำรวจร่มแบบใดที่หนูชอบ


ตัวอย่างกิจกรรม การจำแนกสัตว์เลี้ยง- สัตว์ป่า

ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จับฉลากได้ในหัวข้อเรื่อง การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่าง วัว - แมว
สิ่งสำคัญในการทำคือ การวาดรูปวัวกับแมว เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพและได้รู้จักวัวกับแมวว่ามีลักษณะที่เหมือนกันตรงไหนบ้างและมีลักษณะที่ต่างกันตรงไหนบ้าง

การเปรียบเทียบความเหมือนความต่างระหว่าง วัว - แมว

เมื่อแต่ละกลุ่มทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้ออกไปสอนหน้าชั้นเรียน โดยส่งตัวแทนออกไปสอนและออกไปเขียนอย่างละ 1 คน แล้วให้เพื่อนๆที่เหลือเป็นเด็กปฐมวัย

นำเสนอหน้าชั้นเรียน


นำเสนอหน้าชั้นเรียน


นำเสนอหน้าชั้นเรียน


ผลงานของเพื่อนๆ

ของใช้ในห้องครัวกับห้องนอน


สำรวจ สัตว์แบบใดที่หนูชอบ


การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการฝึกการสอนและการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมทางวิชาคณิตศาสตร์ได้
- เป็นแนวทางในการสอนเด็กปฐมวัยในวิชาคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
- ทำให้เราได้รู้ว่าการสอนวิชาคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยควรจัดการเรียนรู้แบบใดที่จะครอบคลุมเนื้อหาและพัฒนาศักยภาพของเด็กได้อย่างดี ครบถ้วน
-ทำให้มีความเชื่อมั่นและกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น สำหรับการออกไปสอนหน้าชั้นเรียนในครั้งนี้


วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 15 มกราคม 2557
ครั้งที่ 7 เวลา 08.30-12.20 น.

ในชั่วโมงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำนิทานเล่มใหญ่  Big Book โดยร่วมกันคิดนิทานขึ้นมาใหม่ 
ชื่อนิทานว่า ลูกหมูเก็บฟืน โดยมีเรื่องราวว่า  


ลูกหมูเก็บฟืน

           กาลครั่งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป้นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมและหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่หลังละ 2 ตัว หม฿แต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านหลังสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมต้องเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟืนเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยกันเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัว ช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้ทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน และหมูก็นำฟืนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

เมื่อแต่งนิทานเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มทำนิทานโดยแบ่งหน้าที่กลุ่มละ 1 หน้า ซึ่งมีทั้งหมด 10 กลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้หมายเลข 1 ทำหน้าปก


ภาพระหว่างการดำเนินการ



เมื่อทำเสร็จแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกไปเล่านิทานตามที่ตนเองได้ในแต่ละหน้า แล้วนำนิทานของแต่ละกลุ่มมารวมกันเป็นนิทานเล่มใหญ่ Big Book


เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม


เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม



เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม



เล่านิทานของแต่ละกลุ่ม



การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- ทำให้เด็กมีความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด และเิกิดจินตนาการ เมื่อเล่านิทานให้เด็กฟัง           - ทำให้เด็กได้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ คือ การนับฟืน การลบ
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนได้ โดยเฉพาะการทำนิทานเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในหลายด้านๆ เช่น ทางด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์  ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และจิตใจ เป็นต้น
- สามารถนำไปใช้ในการสอนเรื่องเรขาคณิตได้ คือ บ้านที่มีรูปร่าง สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

วันพุธ เวลา 08.30-12.20 น.

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิน
วันที่ 8 มกราคม 2557
ครั้งที่ 6 เวลา 08.30-12.20 น.

   ในชั่วโมงนี้อาจารย์สอนเรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยว่าเด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
-ใ้ห้่เด็กได้เตรียมความพร้อมทางด้านต่างๆทางคณติศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึุกษา
สาระและมาตรฐานที่เรียนรู้

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ มาตรา ค.ป.1.1 เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง  เช่น
-การเปรียบเทียบจำนวน
-การรวมและการแยกกลุ่ม คือ ถ้าการรวมคือการเพิ่มขึ้นแต่ถ้าการแยกคือการลดน้อยลงหรือการเอาออกไป
-การรวมหรือการแยกสิ่งต่างๆสองกลุ่มที่มีผลรวมไม่เกิน 10

สาระที่ 2 การวัด มาตรา ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก เช่น ปริมาตรและเวลา เช่น
-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
-ชนิดของคำว่า เงิน เหรียญและธนบัตร
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน เช่น เมื่อวาน พรุ่งนี้

การวัดของเด็กปฐมวัย (วัดความยาวของห้องโดยใช้มือ)


การชั่งน้ำหนักของเด็กปฐมวัย



สาระที่ 3 เรขาคณิต  คือ คณิตศาสตร์ 3 มิติ 2 มิติ (เด็กเรียนรู้จาก 3 มิติก่อน เพราะเป็นของจริง) มาตรา ค.ป.3.1 รู้จักตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง
มาตรา ค.ป.3.2รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการกระทำ เช่น
- การบอกตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางของสิ่งต่างๆ
-รูปเรขาคณิต 3 มิติ(จับต้องได้) รูปเรขาคณิต 2 มิติ(จับต้องไม่ได้)
-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะ จากรูปเรขาคณิต 3 มิติ 2 มิติ



รูปทรงเรขาคณิต 3 มิติ (จับต้องได้)


รูปเรขาคณิต 2 มิติ(จับต้องไม่ได้)


รูปเรขาคณิตและรูปทรงเรขาคณิต



สาระที่ 4 พีชคณิต มาตรา ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ เช่น
-แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดหรือสิ่งที่สัมพันธ์กัน

เด็กเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์



สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  มาตรา ค.ป.5.1 การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ

ความน่าจะเป็น


ความน่าจะเป็น


สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
-การแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์ต่างๆและมีความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรมท้ายชั่วโมงวันนี้จะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต อาจารย์ให้นักศึกษาเลือกแบบที่เป็นรูปเีรขาคณิตคนละ 1 แบบ ซึ่งดิฉันเลือกแบบสี่เหลี่ยม แล้วอาจารย์ให้วาดเป็นสัตว์อะไรก็ได้โดยมีรูปเรขาคณิตด้วย ซึ่งดิฉันได้วาดสิงโตที่มีหน้าตาเป็นสี่เหลี่ยม



สิงโต

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
-ทำให้เราได้รู้ถึงกรอบมาตราการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
-สามารนำไปใช้ในการฝึกการสอนและการสอนในอนาคตได้
-ทำให้เรามีการวางแผนก่อนการสอนเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและตรงตามมาตราฐานที่เด็กควรจะได้รับ
-ทำให้เราได้รู้ถึงคุณภาพที่เด็กปฐมวัยควรจะได้รับเมื่อจบชั้นไปแล้ว ว่าเด็กมีความสามรถมากน้อยเพียงใด เข้าใจมากแค่ไหนและแก้ปัญหาได้หรือไม่
-ทำให้เราได้รู้ว่าในแต่ละสาระเด็กควรจะได้ความรู้อะไรบ้าง